หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน (Durian Seed Borer)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Mudaria luteileprosa Holloway
ชื่ออื่น หนอนใต้ หนอนรู หนอนมาเลย์
วงศ์ Noctuidae
อันดับ Lepidoptera

ความสาคัญและลักษณะการทำลาย

หนอนเจาะเมล็ดทุเรียนเป็นแมลงศัตรูที่มีความสาคัญและทำความเสียหายต่อผลผลิตทุเรียนมากในเขตภาคตะวันออก สันนิษฐานว่าหนอนชนิดนี้มีถิ่นกาเนิดอยู่ในประเทศมาเลเซียแล้วระบาดเข้ามาทางภาคใต้ของประเทศไทย เกษตรกรนำเมล็ดทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองซึ่งมีขนาดโตมาจากภาคใต้เพื่อใช้เป็นต้นตอ เมื่อปลูกจะได้ต้นกล้าที่แข็งแรง เจริญเติบโตได้รวดเร็ว และมีความทนทานต่อโรคสูง การนาเมล็ดพันธุ์จากทางภาคใต้มาเป็นเหตุทาให้หนอนชนิดนี้ติดมาด้วย เกษตรกรจึงเรียกหนอนชนิดนี้ว่า “หนอนใต้” หรือ “หนอนมาเลย์” (สาทรและคณะ, 2535) หนอนชนิดนี้เมื่อเข้าทาลายผลทุเรียนจะไม่สามารถสังเกตจากภายนอกได้ หนอนที่เจาะเข้าไปในผลทุเรียนถ่ายมูลออกมาปะปนอยู่กับเนื้อทุเรียนทาให้เนื้อทุเรียนเสียคุณภาพ เกษตรกรไม่สามารถขายเนื้อทุเรียนสดได้ ต้องนำไปแปรรูปซึ่งราคาต่ำทำให้สูญเสียรายได้ไปมาก จนกระทั่งเมื่อหนอนโตเต็มที่พร้อมเข้าดักแด้ จะเจาะเปลือกเป็นรูออกมาและทิ้งตัวลงบนพื้นดินเพื่อเข้าดักแด้ในดิน เกษตรกรเห็นแต่รูไม่พบตัวหนอนอยู่ภายในหรือบางครั้งพบความเสียหายเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้วหลังจากหนอนเจาะออกมา จึงเรียกหนอนชนิดนี้อีกชื่อว่า “หนอนรู” (สาทร, 2538)หนอนชนิดนี้พบระบาดเป็นครั้งแรกที่ อาเภอแกลง จังหวัดระยองเมื่อปี 2530 (สาทร, 2538) พิศวาท(2535) รายงานว่า ในปี พ.ศ.2533 ที่จังหวัดระยองพบแมลงชนิดนี้ระบาดใน 8 ตำบล คือ ซากโคน สองสลึง ห้วยยาง เนินค้อ ทางเกวียน วังหว้า บ้านนา และกร่า ที่ตาบลซากโคนเสียหายสูงสุดถึง 26 % ของพื้นที่ปลูกส่วนที่จังหวัดจันทบุรีพบเฉพาะ 2-3 ตาบล ในเขตอำเภอเมืองเท่านั้น และความเสียหาย 4 % ในปี พ.ศ.2534ที่จังหวัดระยอง พื้นที่ระบาดโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น พื้นที่เสียหายสูงสุด 29 % ที่ตาบลเนินค้อ ส่วนที่จังหวัดจันทบุรีพบหนอนชนิดนี้เพิ่มเป็น 4 อาเภอ คือ อาเภอเมือง แหลมสิงห์ ขลุง และมะขาม ในปัจจุบันพบว่ามีการระบาดอย่างกว้างขวาง สวนทุเรียนบางแห่งได้รับความเสียหายจากหนอนชนิดนี้สูงถึง 80 – 90% และพื้นที่การระบาดได้ขยายออกจากแหล่งที่พบการระบาดครั้งแรกไปในหลายพื้นที่ของจังหวัด ระยอง จันทบุรี และตราด ในระยะที่ผ่านมาพบว่ามีหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนติดไปจนถึงผู้บริโภคทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ เป็นผลทารให้ขาดความเชื่อถือต่อสินค้าที่ส่งไปและอาจทามีผลกระทบต่อตลาดการค้าได้

 รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ

ตัวเต็มวัยซึ่งเป็นผีเสื้อกลางคืน สามารถวางไข่ได้ 100 – 200 ฟองต่อตัว วางไข่เป็นฟองเดี่ยวบนผลทุเรียนในขณะที่ผลยังอ่อน จากนั้นตัวหนอนที่เพิ่งฟักจากไข่จะเจาะเข้าไปกัดกินเมล็ดภายในผล การเข้าทาลายจะสังเกตรอยเจาะของหนอนได้ยากเนื่องจากมีขนาดเล็กมากและเปลือกทุเรียนที่กาลังขยายจะปิดรูเจาะของหนอน ทุเรียนที่ถูกทาลายส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะที่เมล็ดแข็งแล้ว หนอนเจริญเติบโตอยู่ภายในผลทุเรียนกัดกินเมล็ดเป็นอาหารประมาณ 30 – 40 วัน โดยคาดคะเนจากเวลาที่จับแม่ผีเสื้อตัวแรกได้และเวลาที่พบหนอนที่โตเต็มที่พร้อมจะเข้าดักแด้ซึ่งห่างกันประมาณ 48 วัน จึงคาดว่าระยะตั้งแต่ผีเสื้อออกจากดักแด้ ผสมพันธุ์ วางไข่และไข่ฟักเป็นตัวหนอน จะกินเวลาประมาณ 10 วัน ดังนั้นระยะหนอนประมาณ 38 วัน การทำลายของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนจะเจาะไชเข้าไปในเมล็ดกัดกินและถ่ายมูลออกมาทาให้เนื้อทุเรียนเปรอะเปื้อนเสียหาย หนอนอาศัยอยู่ในผลทุเรียนจนกระทั่งผลแก่ เมื่อหนอนโตเต็มที่หรือถ้าผลร่วงก่อน หนอนจะเจาะรูกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 – 8 มิลลิเมตรออกมาและเข้าดักแด้ในดิน ระยะก่อนเข้าดักแด้ 8 – 10 วัน ระยะดักแด้ 1 – 9 เดือน ผีเสื้อตัวเต็มวัยที่ออกจากดักแด้ภายในหนึ่งเดือนอาจจะเข้าทาลายทุเรียนรุ่นหลังในปีเดียวกันได้ หรืออาจจะออกจากดักแด้ในปีถัดไปโดยมีฝนในช่วงต้นปีเป็นตัวกระตุ้นให้ตัวเต็มวัยออกจากดักแด้ผีเสื้อตัวเต็มวัยที่จับได้จากกับดักแสงไฟจะมีชีวิตเพียง 7-10 วัน เท่านั้นพืชอาหาร พบว่าหนอนชนิดนี้มีพืชอาศัยอย่างเดียวคือ ทุเรียนศัตรูธรรมชาติ ยังสารวจไม่พบ

 การป้องกันกำจัด

1. เกษตรกรไม่ควรขนย้ายเมล็ดทุเรียนจากที่อื่นเข้ามาในแหล่งปลูก ถ้ามีความจาเป็นควรทาการคัดเลือกเมล็ดอย่างระมัดระวัง หรือแช่เมล็ดด้วยสารฆ่าแมลง เช่น malathion (Malathion 83% EC) อัตรา40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ carbaryl (Sevin 85% WP) อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ก่อนทำการขนย้ายจะช่วยกำจัดหนอนได้
2. การห่อผลระยะยาวโดยใช้ถุงพลาสติกสีขาวขุ่นขนาด 40 x 75 เซนติเมตร เจาะก้นถุงเพื่อระบายน้ำสามารถป้องกันไม่ให้ตัวเต็มวัยมาวางไข่ได้ โดยเริ่มห่อผลตั้งแต่ผลทุเรียนมีอายุ 6 สัปดาห์เป็นต้นไปจนถึงเก็บเกี่ยว ก่อนห่อตรวจสอบผลทุเรียนที่จะห่อให้ปราศจากเพลี้ยแป้ง ถ้ามีให้กำจัดโดยใช้แปรงปัดออก แล้วพ่นด้วยสาร chlorpyrifos (Pyrenex 20% EC) อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
3. การป้องกันกำจัดด้วยวิธีผสมผสาน โดยการพ่นสารฆ่าแมลง cypermethrin/phosalone (Parzon6.25/22.5% EC) อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ห่างกันครั้งละ 1 สัปดาห์ เริ่มเมื่อผลอายุ 6 สัปดาห์ และห่อด้วยถุงพลาสติกขาวขุ่น ขนาด 40 x 75 เซนติเมตร เจาะมุมก้นถุงเพื่อระบายน้า เมื่อผลอายุ 10 สัปดาห์โดยการเลือกห่อเฉพาะผลที่มีขนาดและรูปทรงได้มาตรฐาน ก่อนห่อผลควรมีการสารวจเพลี้ยแป้งและพ่นสารchlorpyrifos เมื่อเพลี้ยแป้งระบาด
4. การใช้กับดักแสงไฟ black light เป็นเครื่องมือตรวจการระบาดของผีเสื้อหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนเพื่อให้ทราบว่ามีการระบาดในช่วงไหน สามารถช่วยให้การใช้สารฆ่าแมลงมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถลดจานวนการพ่นสารฆ่าแมลงจากที่เกษตรกรนิยมปฏิบัติอยู่ที่พ่นตั้งแต่ทุเรียนเริ่มออกดอก
5. การป้องกันกำจัดโดยใช้สารฆ่าแมลง เมื่อพบว่าตัวเต็มวัยเริ่มระบาดให้ใช้สารcarbaryl (Sevin 85%WP), deltamethrin (Decis 3% EC), lambda-cyhalothrin (Karate Zeon 2.5% CS), beta-cyfluthrin(Folitec 2.5% EC), และ cypermethrin/phosalone (Parzon 6.25/22.5% EC) อัตรา 50 กรัม 15, 20,20 และ 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ ห่างกันครั้งละ 1 สัปดาห์ เริ่มเมื่อผลอายุ 6 สัปดาห์