วารสารกีฎและสัตววิทยา ปีที่ 40 ฉบับที่ 2 กรกฏาคม – ธันวาคม 2565
วารสารกีฎและสัตววิทยา ปีที่ 40 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2565
วารสารกีฏและสัตววิทยา ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2565) ฉบับนี้นำเสนอผลงานวิจัยเรื่องความ
หลากหลายของหนูหริ่งสกุล Mus ใน 4 ภูมิภาคของประเทศไทย โดยรายงานผลการจำแนกชนิดทางสัณฐานวิทยา
ร่วมกับการศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมของลำดับเบส บทสรุปได้ให้ข้อคิดเห็นในการวางแผนการป้องกันกำจัดหนูหริ่งให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ทำการเกษตรทั้งบนที่ราบและพื้นที่ทำการเกษตรบนภูเขาหรือที่ราบสูงที่ติดกับพื้นที่ป่า เรื่องที่ 2เป็นผลงานวิจัยของการสำรวจและคัดเลือกชนิดของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินสกุล Leptolyngbya ที่มีศักยภาพในการกำจัดหอยซัคซิเนีย และหอยเจดีย์ใหญ่ ผลการวิจัยพบสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน 1 ไอโซเลท ที่มีศักยภาพโดดเด่นในการกำจัดหอยทั้ง 2 ชนิด สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาให้เป็นชีวภัณฑ์กำจัดหอยศัตรูพืชได้ในอนาคต เรื่องที่ 3 นำเสนอผลงานการทดสอบประสิทธิภาพของสารกำจัดแมลงในการป้องกันกำจัดหนอนแดงศัตรูฝรั่ง ผลลัพธ์ได้ชนิดของสารกำจัดแมลงที่มีประสิทธิภาพดี ช่วงการพ่นที่เหมาะสม พร้อมทั้งต้นทุนการใช้สาร ฯ เป็นคำแนะนำให้เกษตรกรต่อไปผลงานวิจัยเรื่องสุดท้าย เป็นรายงานการสำรวจไรบนพืชสกุลกัญชาในพื้นที่ที่อนุญาตให้ปลูกเพื่อการสาธารณสุขเมืองไทย พบไรแดงสกุล Tetranychus รวม 9 ชนิด ซึ่งมี 1 ชนิด คือ Tetranychus phaselus Ehara เป็นรายงานการพบเป็นครั้งแรกในประเทศไทยบทความในฉบับนี้มี 3 เรื่อง เรื่องที่ 1 เป็นรายงานการเฝ้าระวังการรุกรานของผีเสื้อหนอนชอนใบมะเขือเทศซึ่งเป็นแมลงศัตรูพืชร้ายแรงระดับโลกที่สร้างความเสียหายรุนแรงกับพืชในวงศ์มะเขือ โดยทางองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติได้สั่งการแจ้งเตือน ผู้เขียนได้ให้ข้อมูลรูปภาพแมลง การลักษณะการทำลาย วงจรชีวิต การแพร่กระจายในแต่ละภูมิภาคที่ใกล้กับประเทศไทย ระบุให้เห็นว่ากรมวิชาการเกษตรมีการเฝ้าระวังการรุกรานของแมลงร้ายแรงชนิดนี้ด้วยวิธีอย่างไรบ้าง บทความเรื่องที่ 2 เป็นรายงานครั้งแรกของปรากฎการณ์หอยทากซอมบี้ (zombie snails)ในประเทศไทย ซึ่งผู้เขียนได้บรรยายที่มาของการเกิดปรากฎการณ์นี้ไว้อย่างน่าสนใจมาก บทความสุดท้าย เป็นเรื่องอนุกรมวิธานแบบผสมผสาน (integrative taxonomy) ในแมลงวันผลไม้ ในบทความนี้ เขียนโดยนักอนุกรมวิธานชำนาญทางด้านแมลงวันผลไม้ กล่าวว่ามีวิธีการต่าง ๆ ถึง 6 วิธี ที่สามารถนำมาในการวินิจฉัยแมลงวันผลไม้ให้มีความแม่นยำเพิ่มขี้นจึงควรมีการเลือกใช้วิธีการต่าง ๆ ตามความเหมาะสมด้วย
กองบรรณาธิการวารสารกีฏและสัตววิทยาขอขอบคุณผู้อ่านที่ติดตามผลงานวิจัยเหล่านี้ ผู้สนใจสามารถสืบค้น ข้อมูลจากผลงานวิจัยและบทความในวารสารนี้ได้ ผ่านทาง www.ezathai.org โปรดติดตามฉบับต่อไป
ผลงานวิจัย
•ความหลากชนิดและลักษณะทางพันธุกรรมของหนูหริ่งสกุล Mus (Rodentia: Muridae)ที่พบในประเทศไทย
วิชาญ วรรธนะไกวัล ปราสาททอง พรหมเกิด ศุภกร วงษ์เรืองพิบูล สมเกียรติ กล้าแข็ง ทรงทัพ แก้วตา
• การคัดเลือกสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินสกุล Leptolyngbya ที่มีศักยภาพในการกำจัดหอยSuccinea sp. และ Prosopeas walkeri ศัตรูพืชในประเทศไทย
ศุภกร วงษ์เรืองพิบูล อภินันท์ เอี่ยมสุวรรณสุข วิชาญ วรรธนะไกวัล สมเกียรติ กล้าแข็ง
• ประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดแมลงในการควบคุมหนอนแดง (Fruit Boring Caterpillar)Meridarchis scyrodes Meyrick ในฝรั่ง
กรกต ดำรักษ์ สัญญาณี ศรีคชา วนาพร วงษ์นิคง หทัยภัทร เจษฎารมย์ ศรีจำนรรจ์ ศรีจันทรา พฤทธิชาติ ปุญวัฒโท
• New record of spider mite on cannabis plant with key to the species of Tetranychus in Thailand
Ploychompoo Konvipasruang
บทความ
• การเฝ้าระวังผีเสื้อหนอนชอนใบมะเขือเทศ Phthorimaea absoluta Meyrick, 1917 โดย สุนัดดา เชาวลิต อาทิตย์ รักกสิกร
• รายงานครั้งแรกของปรากฏการณ์หอยทากซอมบี้ (zombie snails) ในประเทศไทย โดย ดาราพร รินทะรักษ์ พงษ์รัตน์ ดำรงโรจน์วัฒนา
• อนุกรมวิธานแบบผสมผสาน (Integrative taxonomy) ในแมลงวันผลไม้ โดย ยุวรินทร์ บุญทบ